บทสรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิตอล รุ่นที่ 7

เมื่อวันที่ 26-28 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ โดยการสนับสนุนหลักจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทคสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชนยูนิเซฟ ประเทศไทย บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชนบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิตอล รุ่นที่ 7

การอบรมมีระยะเวลา 2 คืน 3 วัน มีผู้เข้าอบรมจากองค์กรที่เป็นสมาชิกของสมาคม จำนวน 20 คน เริ่มต้นวันแรกโดย คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวเปิดการอบรม ต่อด้วยการบรรยายภาพรวมทิศทางการรายงานข่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การแข่งขันการรายงานข่าวกับเว็บไซต์ท่า (Web Portal) นักข่าวพลเมือง บล็อกเกอร์ สิ่งที่ต้องคำนึง สิ่งที่ต้องพึงระวัง วิเคราะห์ แนวโน้ม กระแส และความต้องการของการอ่านข่าวของคนออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค ผู้ลงโฆษณา

     เข้าสู่ช่วงที่ 2 เติมความรู้ด้วยหัวข้อ “เทคโนโลยีกับอนาคตสื่อดิจิตอล” โดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มาให้ความรู้ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของ “เทคโนโลยีกับอนาคตสื่อดิจิตอล” สื่อต้องมีการปรับตัวให้ทันเทคโนลียีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

     ช่วงที่ 3 เป็นการมอบโจทย์ฝึกปฏิบัติการทำข่าวออนไลน์ ในหัวข้อ “คิดประเด็นให้เป็นข่าว” โดยคุณอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส สายกระทรวงคมนาคมและเมกะโปรเจ็คก์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกคิด การตั้งประเด็นข่าวแบบมืออาชีพ การมองประเด็นข่าวให้มีความแตกต่าง สร้างเอกลักษณ์ข่าวและคุณภาพข่าว ในการอบรมครั้งนี้ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทำ Workshop และนำผลงานมานำเสนอหน้าชั้น

     ช่วงที่ 4 เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีของเนคเทค “คิดไว:ระบบช่วยประเมินผล/วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว” โดย ดร.อภิรดี ปิยธรรมรงค์ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ ทำให้ผู้อบรมได้ทราบว่า Big Data ที่มีทั้งข้อมูล ตัวเลข ตัวหนังสือ ข้อมูลเสียง และภาพ ที่มีขนาดใหญ่ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดการเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีคุณภาพและประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย “คิดไว” ซึ่งทางผู้วิจัยมองว่า กลุ่มผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปพัฒนาองค์กรรวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติได้ เพราะว่าธุรกิจสื่อออนไลน์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมื่อได้เครื่องมือไปพัฒนาจัดการกับข้อมูลเช่นภาพและเสียงก็จะทำให้งานมีคุณภาพและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

      เข้าสู่วันที่ 2 การอบรมเข้มข้นขึ้นเริ่มต้นด้วยการทบทวนการเรียนรู้วันแรก และแนะนำกิจกรรมในวันที่ 2 ต่อจากนั้นเริ่มต้นด้วย ช่วงแรก เรียนรู้เทคนิคการทำวีดิโอข่าวออนไลน์ โดยคุณพิภพ พานิชภักดิ์ สื่อมวลชนอิสระ,ผู้เชียวชาญด้านการถ่ายภาพและสารคดี มาแนะนำวิธีการรูปแบบ เครื่องมือ แพลทฟอร์ม เทคนิคต่างๆ ในการนำเสนอข่าวในรูปแบบวีดีโอคลิป เพื่อให้ผู้อบรมได้เรียนรู้เทคนิคการทำวีดิโอข่าวออนไลน์ในช่วงแรกการทำข่าวในรูปแบบ MOJO ทำให้นักข่าวมีความคล่องตัวในการทำงาน แต่ต้องพึงระวังว่าการ “ทำวีดิโอจากมือถือ อย่าคิดว่ามาทำทีวี” ซึ่งข้อดีของการทำข่าวจากกล้องตัวเล็ก ทำให้การทำข่าวมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีความใกล้ชิดแหล่งข้อมูลมากขึ้น โดยข้อสำคัญของการนำเสนอข้อมูลผ่านวีดิโอคือ การเล่าเรื่องเป็น (Storytelling)

การทำวีดิโอข่าวออนไลน์ ต้องมีความตื่นเต้น กระชับ มีดนตรี มีตัวอักษร และคอนเทนต์เกิดจาก Curate ซึ่งการนำข้อมูลจากที่อื่นต้องมีการแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ โดยคำศัพท์ที่ต้องเจอ มี 3 ส่วน ได้แก่ UGC (User Generate Content) คอนเทนต์ที่เกิดจากประชาชนทั่วไป, UGS (User Generate Story) นักสร้างเรื่องราว, (User Generate Program) นักข่าวพลเมือง, MSN (Main Stream Media) องค์ประกอบของการทำวีดิโอข่าวให้มีพลัง ได้แก่ การจัดเรียงเรื่องราว, มีความสมดุล (Balance) ของการนำเสนอ, ต้องมีคนดู โดยวิธีการทำวีดิโอข่าวแบบ UGS จะแบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงต้น เป็นการเปิดเรื่องด้วยความตื่นเต้น ช่วงกลาง เป็นการบอกถึงผลร้ายผลเสีย และช่วงจบ เป็นการแสดงจุด Climax ของเรื่อง

     สำหรับหลักของการเล่าเรื่องด้วยวีดิโอ มีดังนี้     1. การทำวีดิโอจากมือถือไม่ควรส่ายเยอะ เพราะเปลือง Bandwidth และใช้เวลาในการประมวลผลสูง โดยสูตรเหล็กของการทำวีดิโอข่าวคือ 3ส. “อย่าสั่น อย่าส่าย อย่าสั้น”
2. ความยาวของวีดิโอข่าว ควรอยู่ที่ 1.30 นาที หรือ 2.30 นาที
3. การเล่าเรื่องมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
3.1 ตะขอ ดึงดูดความสนใจ ได้แก่ ภาพ เสียง และการเปิดเรื่อง ควรมีความเย้ายวน
3.2 ให้ข้อมูลพื้นฐาน 5W 1H
3.3 หามุมของเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอ
4. การสัมภาษณ์
5. เผยจุด Climax ของเรื่อง

     ภาคจบของเทคนิคการทำวีดิโอข่าวให้น่าสนใจ1. หาจุดโฟกัสของภาพที่ต้องการ แล้วทำการ Lock ตำแหน่งนั้นไว้ (ใน iPhone ให้กดที่หน้าจอค้างไว้จนขึ้นคำว่า AE/AF Lock / ใน Android จะปรากฎคำว่า Focus Lock ) เพื่อความสบายตาของผู้ชมเวลากล้องแพลนกล้องไปมา
2. การถ่ายแต่ละช็อตให้ใช้ความยาวประมาณ 6 วินาที ถึงจะแพลนกล้องไปทางอื่น จะทำให้ได้ภาพที่มีไวยากรณ์ หรือทำให้ภาพมีเนื้อหาเรื่องราวในการสื่อสาร
3. เป้าหมายของการถ่ายวีดิโอคือ การทำให้ภาพมีชีวิต แต่ประเด็นไม่เปลี่ยน
4. องค์ประกอบของภาพมีชีวิต แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ “ภาพกว้าง” เรียกว่า ภาพแม่ เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมทั้งหมด และ “ภาพ เล็ก” เรียกว่า ภาพลูกหลาน เป็นการแสดงรายละเอียดในภาพเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ โดยลำดับในการถ่ายภาพ เรียงจาก ถ่ายภาพแม่ ถ่ายภาพส่วนของดวงตา ถ่ายภาพบริเวณหัวไหล่ และถ่ายภาพแทนสายตา ตามลำดับ แล้วนำชิ้นงานมาประกอบเป็นวีดิโอ
5.การซูมหลอก คือการทำให้ภาพที่ถ่ายจากมือถือดูมีพลังและดูแรง ดูเสมือนภาพที่ถ่ายจากกล้องวีดิโอตัวใหญ่
6.การอัดเสียงให้ได้คุณภาพ ควรใช้ Small Talk เพื่อเก็บรายละเอียดเสียง
ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมได้ทำ Workshop การทำวีดีโอข่าวออนไลน์ เพื่อฝึกทบทวนและปฏิบัติได้จริง

     ช่วงที่ 2 เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในธุรกิจสื่อออนไลน์นั่น คือ “Content Marketing กับการนำเสนอข่าวออนไลน์” โดยคุณจักรพงษ์ คงมาลัย กรรมการผู้จัดการ Moonshot | Digital PR & Content ได้มาแนะนำผู้เข้าอบรมในการประยุกต์เทคนิคการทำ Content Marketing กับการเขียนข่าวและนำเสนอให้น่าสนใจถูกใจคนอ่านบนโลกออนไลน์ และ Social Media พร้อมแบบฝึกหัดให้คิดและสอบถาม รวมถึงการอ่าน Insight Data เพื่อวิเคราะห์คอนเทนต์ เริ่มต้นจาก Publisher mind set ได้แก่
– มนุษย์สามารถสื่อสารได้อย่างอิสระ โดยไม่ง้อช่องทาง
– บทบาทของสื่อเปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถเป็นสื่อเองได้
– การทำโฆษณาชวนเชื่อผ่านการยิงโฆษณาโดยตรงได้ผลน้อยลง
– คนกำหนด agenda ของสื่อคือประชาชน ผ่านช่องทางโซเชียล
ซึ่งตัวชี้วัดความสำเร็จแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เชิงปริมาณ ได้แก่ traffic (UIP, PV, Return User) รายได้ ยอดผู้ติดตาม (Social Media) และเชิงคุณภาพ คือความชื่นชอบของผู้ชม (วัดจากการสำรวจ) ความคิดเห็นของผู้ชม ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ชื่อเสียงและการยอมรับจากคนในแวดวงสื่อ
สำหรับ Key Message ของ Content marketing กับการทำข่าวออนไลน์ คือ…”อย่าเป็นแค่คนที่ผลิตงานตามอารมณ์ความรู้สึกและคาดเอาเองล้วนๆ ว่าคนอ่านน่าจะชอบเรื่องนี้ (เรื่องนี้คงจะขายดี) แต่จงเป็น Content Creator ที่รู้จักคนอ่านของตัวเอง รู้จักการชี้แนะแนวทางทางความคิดให้กับคนที่ติดตามคุณ หมั่นตรวจตรา follwer insights ว่าคนสนใจอะไร แล้วใช้ digital tool ให้ฉลาด และจงสร้างฐานผู้ติดตามอย่างต่อเนื่อง”มีเทคนิคการสร้างฐานผู้ติดตาม 2 ประการสำคัญคือ ความสม่ำเสมอของการสื่อสารไปสู่ผู้บริโภค และกิจกรรมบริการช่วยเหลือสังคมเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการค้นหา insight ของผู้บริโภค เช่น google trend, social.gg, google analytics
ข้อสังเกตของการนำเสนอข่าวให้ได้รับความนิยม คือหลัง Public ไปแล้ว 30 วินาที หากข่าวไม่วิ่ง Traffic ไม่เกิด แนะนำให้ลงข่าวชิ้นที่ 2 ต่อเลย จากนั้นเข้าไปบริหารประเด็น พูดคุยกับคนให้เข้าใจในทิศทางเดียวกับเรา     แนวทางการทำ Content เบื้องต้น     1.แบ่งกลุ่มผู้อ่าน     กลุ่มแรก ผู้อ่านที่ไม่รู้จักเราเลย     กลุ่มสอง ผู้อ่านที่เริ่มรู้เราบ้างแล้ว     กลุ่มสาม ผู้อ่านที่เคยไลค์และแชร์ข้อมูลของเรา     กลุ่มสี่ ผู้อ่านที่เป็นแฟนประจำ
1.ไฮไลท์สิ่งที่ดีและสำคัญ 2.เขียนให้มีการเรียกร้องให้ลงมือทำ (Call to action) 3.ต้องทำ social calendar 4.เลือกชนิดของคอนเทนต์ที่เหมาะกับลูกค้าของคุณ 5. เขียนจากมุมมองคนอ่าน

   เข้าสู่วันที่ 3ถือว่าเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีความสำคัญอีกเช่นกันคือ SEO and Analytics โดยคุณพรเทพ เขตร์รัมย์ GM Digital Media Cenergy Innovation Ltd.Central Retail Corp. มาเติมความรู้ให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงการวิเคราะห์และให้หลักการทำงานของ SEO และแนะนำเทคนิคนำเสนอข่าวให้คิด Search Engine ในอันดับต้นๆ และการวัดผลเพื่อเพิ่มผู้อ่านข่าวพร้อมแบบฝึกหัดให้คิดและสอบถาม โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Analytics ทำให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ลึก SEO ทำให้ผู้ใช้เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ดี แล้ว Google จะรู้เอง ทำให้การจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ดี ปัจจัยสำคัญของ Google Search ประกอบด้วย
1. Structure of website เป็นการทำงานเชิงเทคนิค เช่น ทำอย่างไรให้เว็บไซต์โหลดเร็ว
2. Content เป็นเนื้อหาที่ Google วิ่งเข้ามาอ่าน เพื่อจับค่า Keyword ไปประมวลผลในการค้นหาข้อมูล ซึ่ง Content ที่มี Value จะทำให้การจัดอันดับสูงขึ้น โดย Keyword ควรอยู่ใน 160 ตัวอักษรแรกบน Headline
3 Back Link คือ ลิงค์อ้างอิงมาจากเว็บไซต์อื่นหลักการทำงานของ Google Search แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ Calling คือ Google Search วิ่งออกไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล แล้วนำมาจัด Index ในระบบ Search เพื่อ Serving ส่งกลับข้อมูล เมื่อผู้ใช้ทำการค้นหา

สำหรับการทำ SEO on-page ผ่าน Content เน้นที่ Keyword ใน 4 ส่วน ได้แก่ การตั้ง Headline การเขียนรายละเอียดใส่ Paragraph แรก การตั้งชื่อรูปภาพ เพราะ Google อ่านและเก็บข้อมูลผ่านตัวอักษร ไม่ใช่รูปภาพ และการใส่ Keyword ต่อบทความ อยู่ที่ประมาณ 5-10 คำ ช่องทางค้นหา Keyword ยอดฮิต คือ Google Search Google Trends Google Keyword Planner Google Analytics เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ วัดผล เว็บไซต์ ซึ่งมีคนเคยกล่าวไว้ว่า “อะไรที่ถูกวัดผล สิ่งนั้นจะได้รับการปรับปรุง” ตัวอย่างเมนู Audience > Interest เป็นการเก็บค่าเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เข้าเว็บไซต์ โดย Google / Acquisition > Channels เป็นการเก็บค่าช่องทางการเข้ามาสู่เว็บไซต์ / Behavior เป็นการเก็บค่าพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้


ช่วงที่ 2 เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่จัดว่าขาดไม่ได้ในการทำข่าวออนไลน์นั่นคือ “กฏหมายและจริยธรรม การนำเสนอข่าวออนไลน์”โดย คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา และ อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ (ที่ปรึกษากฏหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ดำเนินรายการโดยคุณรัฐเดชน์ ตั้งขจรชัยศักดิ์ กรรมการวิชาการสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบว่า ภูมิทัศน์ของการนำเสนอข่าวเปลี่ยนไป จากเดิมข่าวแต่ละชิ้นจะผ่านกระบวนการผลิตและตรวจสอบความถูกต้องหลายขั้นตอนกว่าจะได้นำเสนอลงสิ่งพิมพ์ แต่ในปัจจุบันการทำข่าวออนไลน์นำเสนอได้รวดเร็ว นักข่าวที่มีประสบการณ์น้อยก็สามารถอัพเดทข่าวขึ้นเว็บไซต์หรือแฟนเพจได้แล้ว ทำให้กระบวนการกลั่นกรองถูกลดทอนลง

ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนออนไลน์ ประกอบไปด้วย กฎหมายลิขสิทธิ์ พรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.เครื่องหมายการค้า และกฎหมายคุ้มครองเด็ก ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การอ้างอิงแหล่งที่มา ทางกฎหมายมีโทษจำคุก 6 เดือนหากไม่อ้างอิงแหล่งทีมา แต่ในภาคสื่อมวลชน การอ้างอิงแหล่งที่มาคือจรรยาบรรณ และมีประโยชน์ในแง่ของการรับผิดทางกฎหมายเพียงครึ่งเดียว หากเกิดกรณีปัญหาจากการนำข้อมูลของผู้อื่นมาเผยแพร่ต่อ
จากนั้นเข้าสู่ช่วงสุดท้าย คือการนำเสนอผลงานของผู้เข้าอบรมทั้ง 4 กลุ่ม โดยมีหัวข้อดังนี้กลุ่ม 1 ใช้ Social หาเงินสร้างรายได้เสริมหลักแสน
กลุ่ม 2 ปัญหารถติดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่ม 3 เจาะใจ ผู้ก่อตั้ง Fight Club Thailand ความรุนแรงสานต่อมิตรจริงหรือ?
กลุ่ม 4 ททท.เผยชื่อ 24 จังหวัด ปล่อย “โปเกมอน หายาก”  หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองเล็ก

ตลอดระยะเวลาของการอบรม “เชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิตอล รุ่นที่ 7” ผู้เข้าอบรมได้รับประสบการณ์และทักษะด้านต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญแลวิทยากรที่มีประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการผลิตข่าวออนไลน์ผ่านการบรรยายอภิปรายและฝึกปฏิบัติผลิตผลงานในสื่อออนไลน์ ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ รู้จักวิธีการคิดและมองประเด็นข่าวใกล้ตัว เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างน่าสนใจ และสามารถนำเสนอข่าวในรูปแบบ Video Content และ มัลติมีเดีย พร้อมกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนำเสนอข่าวได้อย่างถูกต้อง มีจริยธรรมและไม่ผิดกฏหมาย ตลอดจนเรียนรู้เครื่องมือ เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยในการทำข่าวบนสื่อดิจิตอล ตลอดจนเปิดโลกทัศน์ผู้เข้าอบรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข่าวออนไลน์ ให้รู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับองค์กรอื่นๆและสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรด้วยกันเป็นการสร้างผู้ผลิตข่าวออนไลน์รุ่นใหม่ให้เข้าใจภาพรวมของสื่อดิจิตอลได้อย่างถูกต้องในทุกมิติ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า