ส.ผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ส่งตัวแทนเข้ารับฟัง เสวนา “สื่อกับการละเมิดสิทธิผู้ต้องหา”

.ผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ส่งตัวแทนเข้ารับฟัง เสวนา “สื่อกับการละเมิดสิทธิผู้ต้องหา” จัดโดย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.58 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมจัดเสวนา “สื่อกับการละเมิดสิทธิผู้ต้องหา” โดยมีวิทยากรจากด้านต่างๆ อาทิ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กสม. นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นายวัชรินทร์ กลิ่นมะลิ ผู้สื่อข่าวสยามรัฐ อดีตรองนายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย และนายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชนเป็นผู้ดำเนินรายการ

ทั้งนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมรับฟัง เสวนาในครั้งนี้ ซึ่งมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
นายไพบูลย์ เปิดเผยว่า กรรมการสิทธิฯได้รับคำร้องมาหลายครั้งว่า มีตำรวจและสื่อมวลชนการทำการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา และคำร้องที่ได้รับมี 2 ประเด็นสำคัญ คือการนำผู้ต้องหาไปชี้ที่เกิดเหตุ ในการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ และการนำผู้ต้องหานั่งมาแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ซึ่งตนเห็นว่าเรื่องนี้ผิดหลักเป็นการละเมิดสิทธิและยังผิดต่อระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเอง ในคำสั่งสำนักงาน

ตำรวจแห่งชาติ เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพ ต่อสื่อมวลชน และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ในข้อที่1.2.2 ห้ามให้ข่าว แถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่อาจส่งผลกระทบหรือเสียหายต่อคดี โดยเฉพาะคดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เช่น การเปิดเผยเกี่ยวกับเทคนิควิธีการปฏิบัติงานที่ควรปกปิดเป็นความลับ แนวทางการสืบสวนสอบสวน การจับกุม ตรวจค้น และการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ในทุกขั้นตอน เป็นต้น ห้ามให้ข่าว แถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชนอาจเป็นแบบที่บุคคลอื่นจะถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่าง ๆ ของ คนร้าย หรือการที่แสดงถึงการฉ้อโกง การกระทำอัตวินิบาตกรรม และวิธีการอันชั่วร้ายอื่น ๆ
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า และข้อที่ 2.4 ห้ามจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าทำข่าว ขณะเมื่อมีการให้ผู้ต้องหานำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ แต่เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนตำรวจควรใช้ตัวละครสมมติในการทำแผนหรืออธิบายเหตุการณ์ และสื่อมวลชนต้องถ่ายภาพโดยไม่ให้เห็นหน้า รวมถึงสัญลักษณ์บนร่างกายที่ระบุตัวตนของผู้ต้องหาได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิ ในคดีอาญาถ้าผู้ต้องหายังไม่ถูกศาลพิจารณาคดีต้องถือเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ที่ผ่านทาง กสม.ได้ทำหนังสือไปถึงหน่วยงานต่างๆ โดยได้รับการตอบรับอย่างดีว่าเห็นด้วย แต่กลับปฏิบัติในทางตรงกันข้าม
ด้าน นายสุวิทย์ เปิดเผยว่า สื่อมวลชนต้องระวังเรื่องการเผยแพร่ชื่อ ข้อมูล หรือภาพใบหน้าผู้ต้องหา เพราะหากพิสูจน์ภายหลังว่าเขาไม่มีความผิดจะทำให้มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และข้อหาละเมิดในคดีแพ่ง แต่ที่ผ่านมาประชาชนที่โดนละเมิดสิทธิไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และไม่มีกำลังทรัพย์ในการต่อสู้คดี ไม่ทราบช่องทางการช่วยเหลือ ดังนั้น สภาทนายความที่สำนักงานอยู่ทั่วประเทศ พร้อมให้คำแนะนำการดำเนินคดี
นายธาม กล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วช่างภาพหรือสื่อมวลชนเลือกได้ว่าจะนำเสนอภาพโดยยึดหลักจริยธรรมและกฎหมาย หากเจ้าของสื่อต่างๆ หันมาให้ความสนใจเรื่องการนำเสนอข่าวที่ไม่ละเมิดสิทธิ จะเป็นการยกระดับวิชาชีพสื่อมวลชน และในฐานะสื่อมวลชนต้องให้ความสำคัญในเรื่องความรู้ข้อกฎหมายในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด หากที่ใดมีการจัดแถลงข่าวในลักษณะละเมิดสิทธิผู้ต้องหา ก็ต้องช่วยกันบอยคอตไม่ทำข่าวให้ รวมทั้งเป็นสื่อกลางที่เผยแพร่เรื่องสิทธิแก่ประชาชน โดยไม่เอาเปรียบกับบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ทราบ ในเรื่องสิทธิการห้ามถ่ายภาพ การห้ามทำข่าวหรือนำข่าวไปเผยแพร่
ทางด้าน นายวัชรินทร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากนักข่าวภาคสนามรุ่นเก่าปลูกฝังกันมาแบบนี้ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบเสพข่าวลักษณะดังกล่าว ตนเชื่อว่ายังมีผู้สื่อข่าวอีกจำนวนมากที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ แต่การถ่ายภาพข่าว และการคัดเลือกรูปเหมือนเป็นปัญหาเฉพาะของหนังสือพิมพ์ ซึ่งหากฉบับอื่นมีภาพแล้ว แต่ของเรานั้นจะไม่มีไม่ได้ ดังนั้นในเมื่อต้นตอปัญหาเกิดจากตำรวจหรือแหล่งข่าว ที่เอาผู้ต้องหามาแถลงข่าว ควรหันไปแก้ให้ตรงจุด ทั้งนี้ตนขอเสนอให้องค์กรต้นสังกัดสื่อมวลชน จัดอบรมนักข่าวให้เรียนรู้ข้อกฎหมายต่างๆและข้อห้ามต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า