สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดสัมมนาระดับภูมิภาค “News Website and the Impact from Social Media in Southeast Asia”

        เมื่อวันที่ 30 พ.ย.58 ที่ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) โดยการสนับสนุนจาก  SCG ได้จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค “News Website and the Impact from Social Media in Southeast Asia” เพื่ออัพเดทพัฒนาการของสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน ในมิติของเว็บข่าวและผลกระทบจากโซเชียลมีเดีย รวมทั้งวิธีจัดการช่องทางการนำเสนอข่าวในหลากหลายแพลตฟอร์ม และวิธีการจัดการข่าวลือในโซเชียลมีเดีย โดยในงาน ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้เชิญ ผู้บริหารกองบรรณาธิการ และบรรณาธิการออนไลน์สื่อชั้นนำจากฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม พม่า ลาว มาเลเซีย อินโดนีเชียและ ไทย ซึ่งมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้

 1st Panel :การจัดการกองบรรณาธิการและการบริหาร Social Media ต่างๆ บนโลกออนไลน์(Newsroom Management & Multiplatform News Service in ASEAN)โดยวิทยากรจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย

     1.คุณมาติกัส แซนโทส  (Mr.MatikasRestituto Santos) Head of NewsLabEitorial Innovations teamPhilippine Daily Inquirer จากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า เปรียบเทียบผลกระทบของโซเชียลมีเดีย

เหมือนกับพายุที่บางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แต่สามารถจบลงอย่างรวดเร็วได้ด้วย ในบางครั้งโพสต์เพียงโพสต์เดียวบน Twitter หรือ Facebook สามารถสร้างผลกระทบให้กับคนทั้งประเทศได้ หากเนื้อหานั้นได้รับความสนใจ เปรียบเสมือนกับ butterfly effectsสำหรับนักข่าวออนไลน์นั้น จะต้องสามารถวัดได้ว่าพายุจากโซเชียลมีเดียที่มานั้นจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ขนาดไหน และควรที่จะต้องตอบสนองมันเมื่อไหร่ เพื่อเขียนข่าวให้ตอบสนองกับผู้อ่านได้ดีที่สุดทุกวันนี้ในประเทศฟิลิปปินส์นั้นมี Account ที่ลงทะเบียนใช้งานโซเชียลมีเดีย มากถึง 40 ล้าน  Account  และผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ผ่านทางมือถือกว่า 32 ล้านคน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ใช้ที่มีอายุน้อย Traffic ส่วนใหญ่ที่มาที่เว็บไซด์นั้นมาจากโซเชียลมีเดีย และ Line

     2.คุณสุธิดา มาไลยพันธุ์ (Ms.Suthida Maleipan) Executive Vice President -Digital Media,The Post Publishing Public Company Limited จากไทย ได้แสดงมุมมองว่า การจัด Newsroom ที่เหมาะสมกับองค์กร ต้องสัมพันธ์ไปกับต้นทุนและโอกาสเกิดรายได้ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการจัดวางสอดคล้องกับการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆอันจะทำให้เกิดการประสานทำงานและเป้าหมายสูงสุดธุรกิจข่าวออนไลน์ที่เติบโตอย่างยั่งยืน

     3.คุณฟิลิปุส ปาเรรา(Mr.Phillipus Parera) Managing Editor of Investigation Desk at Tempo From Tempo Daily Newspaper จาก อินโดนีเซีย และ นาย นาจมุดิน นาจิ๊ฟ (Mr.Najmuddin Najib) Digital Editor, New Straits Times จากมาเลเซีย เห็นตรงกันว่าการบริหารกองบรรณาธิการนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังต้องมีการใช้ โซเชียลมีเดีย เพื่อช่วยเสริมในการดึง Traffic กลับเข้ามาที่เว็บไซต์

 2nd Panel :การจัดการกับข่าวลือและผลกระทบของข่าวลือนั้นๆบน Social Media(Rumour in Social Media and Its Impact on Mainstream Media)โดยวิทยากรจากประเทศ เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ลาว

     1.คุณ เล ทู เลือง(Ms.Le Thu Luong) Editor, The Vietnam Newspaper จากเวียดนามได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงในการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ไว้ว่า ประชาชนหันมาหาข้อมูลบน social media มากกว่าการเข้าไปหาข้อมูลตามสื่อกระแสหลัก สื่อกระแสหลักขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนการให้ข้อมูลจากทางรัฐบาลที่แน่ชัด ทำให้ผู้สื่อข่าวนั้นไม่สามารถหาข้อมูบที่แท้จริงได้ ในบางครั้งทางรัฐบาลก็สร้างข่าวลือขึ้นมาเอง เพื่อทำให้ประชาชนสับสนว่าข้อมูลไหนคือข้อมูลที่แท้จริง ทั้งนี้เชื่อว่าการแก้ปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อกระแสหลักควรจะมาจากความช่วยเหลือในการให้ข้อมูลจากทางรัฐบาล

     2.คุณเลียง พันนารา(Mr.Leang Phannara) Web Editor,Phnom Penh Post จากกัมพูชา กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการทำข่าวบนโลกออนไลน์ว่า การรายงานข่าวบนโลกออนไลน์นั้นได้เปลี่ยนจากการ รายการงานข่าวผ่านทางเว็ปไซด์มาเป็นการทำ live stream บน โซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ โซเชียลมีเดีย ที่มีการใช้งานมากที่สุดในประเทศกัมพูชานั้นคือ Facebook โดยกว่า 70% ของ Traffic ที่เข้ามาที่เว็ปไซต์นั้นเข้ามาผ่านทาง Facebook  ไม่ใช่เพียงสื่อกระแสหลักเท่านั้นที่หันมาจับ โซเชียลมีเดีย แต่ทว่าทางรัฐบาลเองก็เริ่มที่จะหันมาแถลงข่าวผ่านทาง โซเชียลมีเดีย ด้วยเช่นเดียวกัน

     3.คุณโจว มิน ซุ่ย(Mr.Kyaw Min Swe) Editor in Chief of The Voice Daily & Secretary Of Myanmar Press Council (Interim) จากพม่าได้พูดถึงนิยามของคำว่า “สื่อกระแสหลัก” เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ทางสื่อกระแสหลักนั้นมักได้รับอิทธิพลจากทางรัฐบาล – ประชาชนจึงไม่มีความเชื่อถือในสื่อกระแสหลักอีกต่อไป ทั้งนี้ทางผู้สื่อข่าวเองก็มักจะใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเนื้อข่าวด้วย ผลกระทบหลักๆจากโซเชียลมีเดีย ที่มีต่อผู้สื่อข่าวคือการทำให้ผู้สื่อข่าวออกไปหาข่าวน้อยลง และหาข่าวจากโลกออนไลน์มากขึ้น ทุกวันนี้ประชาชนของพม่าหันมาอ่านข่าวผ่านทางโซเชียลมีเดียบนมือถือมากขึ้น และเริ่มที่จะเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ทางพม่าเชื่อว่าการแก้ความเชื่อมั่นของสื่อกระแสหลักสามารถทำได้ โดยการจัดการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ให้เข้าใจในเรื่องของจรรยาบรรณและหลักการการเขียนข่าวให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในสื่อกระแสหลัก

     4.คุณแก้วชมภู ศักดาวงศ์(Ms.Keoxomphou Sakdavong) Deputy Head of online Section,Vientiane Times Newspaper จากลาวได้พูดถึงผลกระทบจากการเติบโตของโซเชียลมีเดียไว้ว่าหลังจากที่โซเชียลมีเดียมีการเติบโตมากขึ้น ทำให้หลายๆองค์กรเริ่มหันไปลงทุนซื้อโฆษณาผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น จึงทำให้รายได้ของสื่อเองนั้นลดลง ทั้งนี้ทางลาวมีการแก้ปัญหานี้โดยการสร้างความน่าเชื่อ ถือให้กับองค์กร เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆนั้นยังซื้อโฆษณาบนเว็บไซต์อยู่ นอกจากนี้ทางรัฐบาลเองยังได้มีการช่วยเหลือด้วยการออกกฏหมายให้บริษัทข้ามชาตินั้นต้องซื้อโฆษณาบนสื่อกระแสหลักด้วยการขายโฆษณาของสื่อกระแสหลักจึงเปลี่ยนไป เป็นการรวมทุก platform เข้าด้วยกันในการขายเป็น package เพื่อขายโฆษณาให้ได้มากขึ้น

  ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดและดาวน์โหลดข้อมูลการสัมมนา รวมถึงภาพบรรยากาศได้ที่เว็บไซต์www.sonp.or.thและเฟซบุ๊กwww.fb.com/SONPThai

           บรรยากาศงาน https://www.facebook.com/media/set/…

ดาวน์โหลดไฟล์ Presentation

Philippines Matikas Santos INQUIRER.net Social Media

Indonesia_Multi-Platform Newsroom at Tempo – Indonesia

Malaysia_Najmuddin Najib

Vietnam_Le Thu Luong

Laos_Rumour in Social Media and its impact on

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า